0
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
1.ระบบเศรษฐกิจ
1.๑ การเกษตร
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำประมงพื้นบ้านเป็นหลัก อาชีพค้าขายเป็นอันดับรองลงมานอกนั้นทำการเกษตรและปศุสัตว์บ้าง
ตารางแสดงข้อมูลเกษตรทำการเกษตรตำบลบางปู ประจำปี พ.ศ. 2562
ที่ |
ชนิด |
จำนวนครัวเรือน |
พื้นที่ปลูก (ไร่) |
พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่) |
๑ |
ข้าวนาปี |
9 |
15 |
15 |
๒ |
ยางพารา |
๒ |
๒.๒๕ |
2.25 |
๓ |
มะพร้าวแก่ |
๒๖๕ |
472 |
462 |
๔ |
มะพร้าวอ่อน |
๒ |
๓๔ |
๓๔ |
๕ |
ปาล์มน้ำมัน |
3 |
87 |
๘5 |
๖ |
ผักบุ้งจีน |
30 |
๒ |
๒ |
|
รวม |
๓๑1 |
612.25 |
600.25 |
1.๒ การประมง
มีการทำประมงชายฝั่งขนาดเล็ก เลี้ยงกุ้ง ปลาดุก และปลากระพงในกระชัง
ตารางแสดงข้อมูลเกษตรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำตำบลบางปู ประจำปี พ.ศ. ๒๕60
ที่ |
ชนิด |
จำนวนเกษตรกร (ราย) |
จำนวนกระชัง,บ่อ |
พื้นที่ (ไร่) |
๑ |
ปลากระพงขาว |
๕๐ |
๒๐๐ (กระชัง) |
๓.๑๒๕ |
๒ |
ปลาดุก |
๖๘ |
๑๗๕ (บ่อ) |
๔๘ |
๓ |
กุ้งขาว |
๑ |
๙ บ่อ |
๓๘ |
|
รวม |
๑๑๙ |
๓๘๕ |
๘๙ |
1.๓ การปศุสัตว์
ตารางแสดงจำนวนปศุสัตว์แต่ละประเภทที่สำคัญ ปี ๒๕60
ลำดับที่ |
บ้าน |
หมู่ที่ |
พื้นที่ปลูกหญ้า (ไร่) |
โคเนื้อ (ตัว) |
ไก่ (ตัว) |
เป็ด (ตัว) |
แพะ (ตัว) |
แกะ (ตัว) |
สัตว์เลี้ยง อื่นๆ (ตัว) |
หมายเหตุ |
๑. |
โต๊ะโสม |
๑ |
๐.๐๐ |
๑๘ |
๓๖๕ |
๓๓๒ |
๑๖ |
๑๘ |
๓๐ |
|
๒. |
บาลาดูวอ |
๒ |
๐.๕๐ |
๒๖ |
๖๔๖ |
๑,๘๘๐ |
๑๒ |
๑๘ |
๕๒ |
|
๓. |
บางปู |
๓ |
๐.๕๐ |
๒๗ |
๔๗๗ |
๕๙๐ |
๒๙ |
๓๘ |
๓๖ |
|
|
รวม |
|
๑.๐๐ |
๗๑ |
๑.๖๑๘ |
๒.๘๐๒ |
๕๙ |
๗๔ |
๑๑๘ |
|
ที่มา:สำนักงานเกษตรอำเภอยะหริ่ง (ปี ๒๕๖๐)
1.๔ การบริการ
ในเขตเทศบาลตำบลบางปูไม่มีการบริการโรงแรมและที่พักแต่อย่างใด
1.๕ การท่องเที่ยว
๑) ศูนย์เพาะพันธ์ปูดำชุมชนบาลาดูวอ หมู่ที่ ๒
๒) ป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ มีร่องน้ำเป็นช่องสามารถจะล่องเรือชมความงามของป่าโกงกางทั้งสองฝั่งได้ลอดอุโมงค์โกงกาง ชมนกนานาชนิด ชมหิ่งห้อยยามค่ำมีเยอะมาก
๓) บ่อน้ำกามเทพเก่าแก่ที่ศักดิ์สิทธิ์สามารถอธิฐานขอคู่ครองได้โดยอาบน้ำในบ่อ
อายุ ๑,๐๐๐ ปี
๔) สุสานโต๊ะโต๊ะโสมกับโต๊ะแญร์สองสามีภรรยา
-2-
1.๖ อุตสาหกรรม
ปัจจุบันในเขตเทศบาลตำบลบางปูยังไม่มีการลงทุนด้านอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นจากทางภาครัฐหรือเอกชนแต่มีอุตสาหกรรมในครัวเรือนผลิตเพื่อขาย เช่น ไส้อั้ว ปลาเค็มตากแห้ง
1.๗ การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
ปัจจุบันมีเฉพาะอาคารร้านค้าจำหน่ายสินค้าอุปโภค - บริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
1.๘ แรงงาน
ประชากรที่เป็นวัยแรงงานและว่างงานส่วนมากไปทำงานที่ประเทศมาเลเซียเป็นส่วนใหญ่ ส่วนคนชราและเด็กอยู่บ้าน
2. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
2.๑ การนับถือศาสนา
๑) นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ ๑๐๐ ของจำนวนประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาล
ประชาชนได้รับการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมเรื่อยมาอย่างมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นผสมผสานกลมกลืนกันจนกลายเป็นประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยเฉพาะการแต่งกายสุภาพ ส่วนใหญ่ผู้ชายนิยมนุ่งโสร่งหรือกางเกงขายาวสวมเสื้อแขนสั้นหรือแขนยาวและสวมหมวกกะปิเยาะส่วนผู้หญิงก็จะสวมเสื้อแขนยาวถึงข้อมือและสวมผ้าคลุมศีรษะตามข้อบัญญัติทางศาสนาและศาสนสถานเพื่อประกอบกิจทางศาสนา มีดังนี้
๑) มัสยิดจำนวน ๖ แห่ง
๒) สุเหร่า - แห่ง
๓) บาราเซาะ ๘ แห่ง
2.๒ ประเพณี และงานประจำปี
๑) การถือศีลอด (ถือบวช) หรือในภาษายาวีเรียกว่า “ปอซอ”ถือปฏิบัติเดือน “รอมฎอน”
หรือเดือนที่ 9 ของปีฮิจเราะห์ศักราช ชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามทุกคนจะถือศีลอดเป็นเวลา 1 เดือนโดยจะงดเว้นสิ่งอบายมุขทั้งหลาย ทั้งกาย วาจา และใจ ตั้งแต่รุ่งอรุณจนกระทั่งดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าทั้งนี้เพื่อให้ชาวมุสลิมได้รู้สึกถึงภาวการณ์อดทนและอดกลั้น และให้รู้สึกถึงสภาพของผู้ที่ไม่มีอันจะกินเป็นต้น
๒) อารีรายอ ในรอบปีฮิจเราะห์ศักราช จะมีเทศกาลรายอปีละ ๓ ครั้ง คือ
๑) รายออิดิลฟิตรี คือวันเฉลิมฉลองในศาสนาอิสลาม (หลังการออกบวช) โดยจะ
มีกิจกรรมต่างๆ เช่น แต่งกายให้สะอาดเรียบร้อย ร่วมกันละหมาดที่มัสยิด เยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง เป็นต้น โดยจะตรงกับวันที่ 1 เดือน 10 “เซาวัล” เดือนที่ 10 ของปีฮิจเราะห์ศักราช
๒) หลังจากรายออิดิลฟิตรี นับไป อีก ๖ วัน จะเป็นรายอแน
๓) วันอิดิลอัฎฮา คือ วันเฉลิมในศาสนาอิสลามอีกครั้งหนึ่ง โดยจะมีการเชือด
สัตว์พลี (กุรบาน) และเลี้ยงอาหารให้แก่ผู้ยากจน หรือญาติมิตรหลังจากได้ทำพิธีละหมาดในตอนเช้าแล้ว
จะตรงกับวันที่ 10 “ซุลฮิจญะห์” เดือนที่ 12 ของปีฮิจเราะห์ศักราช
๓) การเข้าสุนัต เป็นหลักการของศาสนาอิสลาม ที่ถือหลักความสะอาดคือ การ
ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วกระทำเมื่อเด็กอายุระหว่าง 6 - 12 ปี ภาษาถิ่นเรียกว่า
“มาโซะยาวี”
-3-
๔)งานเมาลิดคือ วันคล้ายวันประสูติของท่านศาสดานบีมูฮัมหมัด (ซ.ล.)
ตรงกับวันที่ 3 เดือนรอบีอุลเอาวัล) ตามปฏิทินอาหรับ ชาวมุสลิมนิยมทำบุญในเดือนนี้ และเดือนอื่นก็ทำได้ โดยไม่ถือว่าผิด
๕) การกวนอาซูรอ การนำอาหารทุกอย่างมากวนให้สุกเป็นเนื้อเดียวกันเมื่อสุกแล้วจะแจกจ่ายให้ทุกคนได้รับประทาน
ขนบธรรมเนียมการเคารพทักทาย ชาวมุสลิมเพื่อพบปะกันก็จะกล่าว “อัสสาลามูอาลัยกุม” (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) และมีการรับว่า “วาอาลัยกุมมุสสาลาม” (ขอความสันติสุขจงมี แด่ท่านเช่นกัน)และยื่นมือสัมผัสกัน (ซาลาม)
2.๓ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
ภมิปัญญาท้องถิ่น มีการทำกรงนกเขา และกรงนกกรงหัวจุก มีการแกะสลักลายจากไม้ต่างๆเพื่อตกแต่ง ประตู หน้าต่าง ฝาบ้าน หรือซีกรงนกเป็นต้น
ภาษาถิ่นประชาชนส่วนใหญ่ใช้ภาษามาลายูท้องถิ่นเป็นภาษาพูดและการสื่อสาร
2.๔ สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
สินค้าพื้นเมืองที่จำหน่ายมีดังนี้ กรงนกเขาชวา กรงนกกรงหัวจุก ไส้อั้ว ปลาเค็มตากแห้ง
3.ทรัพยากรธรรมชาติ
3.๑ น้ำ
๑.คลองโต๊ะโสม
๒.คลองบือเจาะ
๓.คลองอาแวเบาะ
3.๒ ป่าไม้
ป่าไม้ธรรมชาติในเขตเทศบาลตำลบลบางปู คือป่าโกงกางที่อุดมสมบูรณ์
3.๓ ภูเขา
สภาพพื้นที่ในเขตเทศบาลตำบลบางปูเป็นพื้นที่ติดชายทะเลไม่มีภูเขา
3.๔ ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์มีร่องน้ำเป็นช่องสามารถจะล่องเรือชมความงามของป่าโกงกาง
ทั้งสองฝั่งได้
4.เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่ง)
4.๑ ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านหรือชุมชน
เทศบาลตำบลบางปูตั้งอยู่ที่ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี มีหมู่บ้านอยู่ในเขตเทศบาล จำนวน ๓ หมู่บ้าน คือ
๑.หมู่บ้านโต๊ะโสม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ มี ๒ ชุมชน ได้แก่
๑.๑ ชุมชนโต๊ะโสม
๑.๒ ชุมชนบือเจาะ
๒.หมู่บ้านบาลาดูวอ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๒ มี ๒ ชุมชน ได้แก่
๒.๑ ชุมชนบาลาดูวอ
๒.๒ ชุมชนบางปูสุเหร่า
๓.หมู่บ้านบางปู ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๓ มี ๔ ชุมชน ได้แก่
-4-
๓.๑ ชุมชนบางปูอนามัย
๓.๒ ชุมชนบางปูตือเง๊าะ
๓.๓ ชุมชนบางปูกือลอ
๓.๔ ชุมชนกือลอจือแร
4.๒ ข้อมูลด้านการเกษตร
เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของเทศบาลติดกับป่าชายเลน ประชาชนทำการเกษตรน้อย
มีการปลูกพืชชนิดอื่นๆ เช่น มะพร้าวแก่ มะพร้าวอ่อน ถั่วฝักยาว มันเทศ แตงโม เป็นต้น
4.๓ ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร
๑ คลองโต๊ะโสม
๒.คลองบือเจาะ
๓.คลองอาแวเบาะ
4.๔ ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกิน น้ำใช้ (หรือน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค)
ประปาหมู่บ้านโดยมีมัสยิดเป็นผู้ดำเนินการ